โครงสร้างงานหลังคา ประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลายอย่าง แต่หนึ่งในองค์ประกอบที่มองข้ามไม่ได้คือ “สกรู” ซึ่งมีหน้าที่ยึดหลังคาให้ติดกับโครงสร้าง ดังนั้นการที่จะได้โครงสร้างหลังคาที่ดี ไม่ใช่แค่เลือกแผ่นเมทัลชีทที่ดีเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ สกรูยึดเมทัลชีท ที่ดีด้วย เพราะหลังคาเป็นตำแหน่งที่จะต้องเจอกับความแปรปรวนของสภาพแวดล้อม และการกัดกร่อนจากลมฝน หรือแสงแดดอยู่ตลอดเวลา ซึ่งถ้าคุณอยากรู้รายละเอียดเกี่ยวกับการติดตั้งโครงสร้างหลังคา ทาง Sendo เราได้นำสิ่งที่คุณต้องรู้ ก่อนเลือกซื้อสกรูยึดเมทัลชีทมาฝาก รวมถึงบอกข้อควรระวังของการใช้งาน ให้กับทุกคนในบทความนี้!
โครงสร้างงานหลังคา ประกอบด้วยอะไรบ้าง ?
หัวข้อนี้ Sendo ขอพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ องค์ประกอบของโครงสร้างหลังคากันก่อน โดยจะอธิบายเน้นไปที่ส่วนประกอบพื้นฐานของโครงสร้างหลังคา และไม่ได้แยกว่าเป็นโครงหลังคาเหล็ก หรือ โครงหลังคาไม้ ซึ่งส่วนประกอบหลัก ๆ ของโครงสร้างหลังคา มีดังนี้
- แป หรือ ระแนง (Batten) – ทำหน้าที่รองรับกระเบื้องหลังคา ประเภทต่าง ๆ มีลักษณะเป็นไม้สี่เหลี่ยมจตุรัส ที่วางอยู่บนจันทัน วางห่างกันตามขนาดของกระเบื้องที่ใช้ โดยวางขนานกับแนวอกไก่
- จันทัน (Rafter) – เป็นส่วนโครงสร้างที่วางเอียงตามลักษณะของหลังคา วางอยู่บนอเส และอกไก่ มีหน้าที่รับน้ำหนักจากแป โดยจันทันจะวางพาดระหว่างอเส เพื่อถ่ายน้ำหนักที่จันทันรับให้แก่อเส โดยปกติจะวางเป็นระยะทุก 1 เมตร มีทั้งวางบนหัวเสา และไม่ได้วางพาดบนหัวเสา โดยระยะห่างนั้นก็ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของวัสดุมุงหลังคา และระยะแปด้วย
- ตะเข้สัน หรือ ตะเข้ราง (Valley Rafter) – เปรียบเสมือนเป็นจันทันเอก ที่วางอยู่ 4 มุมของหลังคา (ทรงปั้นหยา) โดยตะเข้สันหรือตะเข้ราง จะต้องมีขนาดหน้าตัดความสูงเท่าจันทัน เพราะจันทันทุกตัวจะวิ่งมาเกาะกับตะเข้สันหรือตะเข้ราง
- อกไก่ (Ridge) – เปรียบเสมือนคานที่วางพาดอยู่บนดั้งบริเวณสันหลังคา เพื่อรองรับน้ำหนักจันทันตามแนวสันหลังคา โดยจะอยู่บริเวณส่วนกลางของหลังคา รวมถึงมีหน้าที่แบกรับน้ำหนักของจันทันทุกตัวทั้ง 2 ด้าน
- ดั้ง (King Post) – เป็นเสาที่เสริมขึ้นมา เพื่อรองรับอกไก่ทดแทนเสาจริงของอาคาร
- ขื่อ หรือ สะพายรับตั้ง (Tie Beam) – เมื่อดั้งเข้ามาแบกรับน้ำหนัก และถ่ายน้ำหนักต่อไปยังคาน ขื่อเข้ามาทำหน้าที่เพื่อแบกรับดั้ง และถ่ายน้ำหนักลงสู่เสาอาคารต่อไป
- ค้ำยัน – ทำหน้าที่ช่วยยึดไม้รับท้องจันทัน และช่วยถ่ายน้ำหนักมาที่ขื่อ
- ดั้งโท – ทำหน้าที่เป็นดั้งรองรับไม้ท้องจันทัน และถ่ายน้ำหนักบางส่วนมาที่ขื่อ
- ขื่อดัด – ทำหน้าที่รองรับไม้ท้องจันทัน โดยยึดติดกับค้ำยัน และจันทันเอก
- อเส (Stud Beam) – จะติดตั้งอยู่บริเวณคานชั้นบนสุดของอาคาร ทำหน้าที่ยึดปลายเสาตอนบนเพื่อให้โครงสร้างแข็งแรง และถ่ายน้ำหนักโครงหลังคาสู่เสา เปรียบเสมือนคานรัดรอบตัวอาคาร มีหน้าที่ช่วยแบกรับน้ำหนักของจันทัน แต่ละตัว
- เชิงชาย ทับชาย (Eaves) – มีหน้าที่บดบังความไม่สวยงามจากปลายชายคา ของจันทันทุกตัว ป้องกันการผุของไม้ที่ปลายจันทัน จากการโดนแดดและฝน และรวมไปถึงปิดกันไม่ให้นกเข้ามาอาศัยอยู่ใต้หลังคา
สกรูยึดแผ่นเมทัลชีท มีลักษณะเป็นอย่างไร ?
สำหรับ สกรูสำหรับยึดแผ่นเมทัลชีท หากดูจากชื่อจะรู้ได้ทันทีว่าเป็นสกรูที่ถูกออกแบบมา เพื่อใช้ในการยึดแผ่นหลังคาเมทัลชีท เข้ากับโครงสร้างต่าง ๆ โดยเฉพาะ อย่างเช่น โครงสร้างหลังคา หรือ ผนังจากวัสดุที่เป็นโลหะ เนื่องจากคุณสมบัติพิเศษของสกรูประเภทนี้ คือ สามารถเจาะผ่านโลหะได้โดยตรง โดยที่ไม่ต้องเจาะรูนำล่วงหน้า ส่วนลักษณะโดยรวมของสกรูยึดเมทัลชีท จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
- หัวสกรู – มีขนาด 8 มม. ใช้คู่กับลูกบล็อค และสว่านไฟฟ้า มีแหวนป้านออกมาเล็กน้อย เพื่อรองรับการเสียดสีระหว่างลูกบล็อค และแผ่นเมทัลชีทขณะใช้งาน
- แกนสกรู – ออกแบบให้เป็นเกลียว 2 ชั้น ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ
- เกลียวชั้นล่าง – ทำหน้าที่ยึดแป
- เกลียวชั้นบน – ทำหน้าที่ยึดแผ่นเมทัลชีทเข้ากับสกรูให้แน่นหนา
- SHANKGUARD (ชาร์ฟโพรเทคเตอร์) – ทำหน้าที่ลบคมของรู เพื่อป้องกันการทำลายชั้นเคลือบของแกนสกรู
- ปลายสกรู – มีให้เลือกใช้งานทั้งแบบ ปลายสว่านสำหรับเจาะแปเหล็ก และ ปลายแหลมสำหรับเจาะแปไม้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะนำสกรูไปใช้งานกับแปประเภทไหน
สกรูยึดเมทัลชีท ใช้ยิงส่วนไหนของงานหลังคา
จากที่เกริ่นในข้างต้นจะเห็นว่า งานโครงสร้างหลังคา ประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลายส่วน จึงไม่แปลกที่จะมีข้อสงสัยว่า สกรูยึดแผ่นเมทัลชีท ควรใช้ยิงส่วนไหนของแปหลังคา ? คำตอบคือ สกรูจะใช้ยิงระหว่าง แผ่นเมทัลชีท กับ แป สามารถใช้ได้กับทุกความหนา หรือแผ่นเมทัลชีททั่วไป ติดตั้งง่าย เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด โดยวิธีการเหล่านี้ คุณสามารถนำไปปรับใช้ในงานจริงได้ เพื่อให้งานติดตั้งโครงสร้างหลังคาออกมาอย่างเรียบร้อย และป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดภายหลัง
ข้อควรระวังในการยิง สกรูยึดเมทัลชีท
หลังคาเมัลชีท ขึ้นชื่อว่าเป็นหลังคาที่มีปัญหารั่วซึมน้อยที่สุด เพราะหลังคาเหล็กเมทัลชีทจะมีความยาวต่อเนื่อง ตั้งแต่แผ่นจากสันจั่วไปจนถึงชายคา แต่หากติดตั้งไม่ถูกวิธี ก็อาจส่งผลต่อประสทธิภาพการใช้งานได้เช่นกัน ดังนั้นก่อนทำการติดตั้งหลังคาเมทัลชีท คุณจะต้องรู้ก่อนว่าหลังคาประเภทนี้มีข้อควรระวังอะไรบ้าง เพราะถ้าหากติดตั้งไม่ดี อาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดที่อาจสร้างความเสียหายขึ้นได้ในอนาคต
1. ความลาดเอียงของหลังคา ควรมากกว่า 5 องศา
การใช้งานแผ่นเมทัลชีทแบบลอนมาตรฐาน ควรมีความลาดเอียงอย่างน้อย 5 องศา ถ้าหากหลังคาที่ติดตั้งมีความยาวมาก หรือเป็นเขตที่มีปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ ควรเพิ่มความลาดเอียงมากขึ้น แต่โดยปกติแล้วเป็นหลังคาทรงจั่ว ทรงปั้นหยา หรือหลังคาบ้านทั่วไปจะไม่ค่อยพบปัญหานี้ เนื่องจากมีความลาดเอียงของหลังคาเกิน 20 องศาอยู่แล้ว แต่จะพบปัญหากับอาคารขนาดใหญ่ที่ใช้หลังคาประเภท Single Slope หรือ Double Slope ดังนั้นก่อนทำการติดตั้ง ควรมีการตรวจสอบความลาดเอียงให้เหมาะสมก่อนเสมอ
2. ระยะแปที่เหมาะสม
ก่อนทำการติดตั้งแผ่นหลังคา ช่างจะต้องคำนวณน้ำหนักต่อตารางเมตรของแผ่น เพื่อให้ได้ระยะแปที่เหมาะสม โดยเฉพาะหลังคาโรงจอดรถ เนื่องจากหลังคาของโรงจอดรถมีความกว้าง และมีเสาไม่มาก ส่งผลให้ระยะแปมีความถี่มากกว่าปกติ และต้องทำให้โครงสร้างมีความแข็งแรงมากขึ้น หากขนาดแปเล็กและมีระยะแปห่างมาก แผ่นหลังคาจะไม่สมส่วน ส่งผลให้เกิดการแอ่นตัว หรือปัญหาที่ช่างทั่วไปเรียกกันว่า “ตกท้องช้าง” นั่นเอง
3. การระบายน้ำบนหลังคาเหล็กเมทัลชีท
หลังคาเมทัลชีทสามารถทำองศาได้ต่ำสุดถึง 5 องศา มีลักษณะเกือบจะเป็นแนวระนาบ แต่ลอนหลังคาบางประเภทอาจต้องใช้ความลาดเอียงเพิ่มขึ้น เพื่อให้สามารถระบายน้ำได้ทัน ไม่ล้นเกินความสูงของสันลอน ดังนั้นถ้าอยากให้แน่ใจว่าหลังคาเมทัลชีทติดตั้งอย่างถูกต้อง ควรมีการตรวจเช็กการระบายน้ำบนหลังคา โดยต้องทดสอบให้แน่ใจว่าน้ำฝนจะสามารถไหลลงสู่ด้านล่างได้อย่างสะดวก และไม่รั่วซึมลงไปในตัวอาคาร
4. การเจาะยึดหลังคาควรทำโดยผู้ชำนาญการ
การเจาะยึดหลังคาไม่ควรเจาะยึดแน่นเกินไป เพราะสามารถทำให้เกิดรูรั่วขึ้นได้เช่นกัน เนื่องจากสกรูยึดหลังคาเมทัลชีทแต่ละตัว จะมีแหวนยางรองกันน้ำอยู่ 1 วง หากขันจนแน่นเกินไปจะทำให้ยางรองปลิ้นหลุดออกมาหรือยางขาด ซึ่งจะกลายเป็นจุดอ่อนของหลังคาในระยะยาวได้ทันที ดังนั้นควรขันสกรูให้แน่นแต่พอดี
5. ยึดหลังคาด้วยสกรูที่ได้มาตรฐาน
โดยส่วนใหญ่แล้วปัญหารั่วซึมของหลังคากว่า 40% เกิดจาก “หัวสกรู” ซึ่งหัวสกรูมีทั้งแบบที่ได้มาตรฐาน มีการรับประกัน และสกรูทั่วไปที่ราคาตัวละไม่ถึง 1 บาท ซึ่งแน่นอนว่าผลัพธ์ที่ได้จะแตกต่างกัน หากเลือกใช้สกรูที่ไม่ได้มาตรฐานจะทำให้รูเจาะเกิดสนิมได้อย่างรวดเร็วจนกลายเป็นรูรั่ว ส่งผลให้หลังคาเกิดความเสียหายเร็วกว่าอายุการใช้งาน ตามมาตรฐานของแผ่นหลังคาเมทัลชีท
6. วัสดุหลังคาต้องได้มาตรฐาน
แผ่นหลังคาเมทัลชีทในปัจจุบันนี้มีหลายยี่ห้อ แต่สำหรับแผ่นหลังคาเมทัลชีทที่น่าเชื่อถือนั้น จะต้องผ่านการรับรองมาตรฐาน มอก. หรือมีการรับประกันคุณภาพ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าหลังคาเมทัลชีทที่ใช้นั้น จะมีความคงทนตามอายุการใช้งานอย่างเหมาะสม
เลือกซื้อ สกรูยึดเมทัลชีท คุณภาพสูง ราคาประหยัด ต้องที่ Sendo Fastener
จากเนื้อหาในข้างต้นทำให้เห็นว่า การติดตั้งโครงสร้างหลังคา ให้มีความแข็งแรงทนทานและสวยงามได้นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเช่นเดียวกัน ถ้าหากคุณเลือกใช้ สกรูยึดเมทัลชีท จาก Sendo Fastener เพราะสกรูของเราเป็นสกรูที่มีคุณภาพสูง และได้มาตรฐาน ตามคุณสมบัตเหล่านี้
- ผลิตจากเหล็กคุณภาพสูง ทนทานต่อการสึกกร่อน ไม่บิ่น หรือแตกหักขณะเจาะ
- มีขนาดตามมาตรฐาน ช่วยให้งานของคุณเสร็จรวดเร็ว
- มีซีลยางสังเคราะห์ EPDM ที่สามารถป้องกันปัญหาน้ำรั่วซึมได้อย่างดีเยี่ยม
- ผลิตจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน ทำให้คุณใช้งานได้อย่างมั่นใจ
จะเห็นว่า อายุการใช้งานของหลังคาเมทัลชีทจะยาวนานหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้สกรู หากเลือกสกรูคุณภาพดี ก็จะยิ่งช่วยยืดอายุการใช้งาน และป้องกันปัญหาน้ำรั่วซึมของหลังคาได้ ซึ่งคุณสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ ไปเป็นแนวทางประกอบการเลือกซื้อสกรูยึดแผ่นเมทัลชีท สำหรับติดตั้งหลังคาเมทัลชีทได้ หากคุณรู้ข้อมูลเหล่านี้แล้วบอกเลยว่า ไม่ว่าคุณจะเป็นช่างมือใหม่ก็สามารถลุยได้ทุกงาน!
Sendo Fastener แหล่งจำหน่าย สินค้าโลหะภัณฑ์ ได้มาตรฐาน ซื้อง่าย ครบ จบในที่เดียว!
หากคุณสนใจสั่งซื้อ สินค้าโลหะภัณฑ์ เหล็กสำหรับติดตั้งโครงสร้างเหล็ก หรือยึดแปเหล็ก รับรองว่าซื้อที่ Sendo Fasteners ได้สินค้าครบ จบในที่เดียว! เพราะที่ Sendo เราเป็นทั้งผู้ผลิต / นำเข้า และจัดจำหน่ายสินค้ากลุ่ม Fasteners and Metal works อาทิเช่น สกรู (น็อต), โลหะภัณฑ์ และ รับตัดแผ่นเพลท, J bolt / L bolt และยังสามารถผลิตสกรูตามสเป็กที่ลูกค้าต้องการ แบบ Made to Order (OEM)
ที่ Sendo เรามีความเข้าใจสินค้าและผู้ประกอบการเป็นอย่างดี สกรูทุกชิ้นผลิตจากโรงงานในประเทศไทย (Made in Thailand) ใช้เครื่องจักรที่ทันสมัยได้มาตรฐานสากล ผลิตสินค้าให้กับผู้ประกอบการทุกอุตสาหกรรม ทำให้ได้รับความไว้วางใจ เพราะ สามารถเข้าถึงการผลิตของเรา ได้ในทุกขั้นตอน ที่สำคัญหากคุณมีข้อสงสัยในเรื่องใด ทางเรามีทีมช่างที่พร้อมให้คำปรึกษาคุณ อย่างใกล้ชิด เกี่ยวกับสินค้าภายในร้านทุกประเภท
ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่
Line OA : @sendothailand
Phone : 03-316-6999 / 062-398-9494
Facebook : sendothailand
Email : sale@sendothailand.jp